คำอธิบาย
ไวรัสโรต้า
ไวรัสโรต้า เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ เมื่อเชื้อไวรัสนี้เข้าไปในระบบทางเดินอาหารแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงรุนแรงได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบว่าในเด็กเล็กและมีอาการรุนแรงกว่าเด็กโต เชื้อไวรัสโรต้าจะเจริญเติบโตได้ดีและทนต่อสภาพแวดล้อมได้นานในที่แห้งและเย็น จึงพบมาก ขึ้นในฤดูหนาว
อาการที่พบ
- อาเจียน
- ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ
- มีไข้ (อาจจะมีอาการชักเพราะไข้สูง)
ซึ่งอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำและอาเจียนนั้นอาจนานถึง 3-8 วัน
การรักษาการติดเชื้อไวรัสโรต้า
หากอาการไม่รุนแรง ให้ดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยการสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ และให้ยาอื่นๆ รักษาตามอาการ ในกรณีที่มีไข้สูง อาเจียนรุนแรง ทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย ซึมลง ให้พาผู้ป่วยมาพบแพทย์ทันที
การติดเชื้อไวรัสโรต้า สามารถป้องกันได้
เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงและการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อนี้
- ล้างมือบ่อย ๆ รวมถึงก่อน – หลังทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำด้วย
- ทานอาหารปรุงสุก สดใหม่
- เลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีอาการท้องเสีย
นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันด้วย วัคซีนไวรัสโรต้า เป็นวัคซีนชนิดหยอดที่ใช้ได้เฉพาะในเด็กเล็กเท่านั้น
- วัคซีนชนิดหยอด 2 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน และ 4 เดือน
- วัคซีนชนิดหยอด 3 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน, 4 เดือน, และ 6 เดือน
ทั้งนี้วัคซีนโดสแรกควรได้รับก่อนอายุ 6 – 15 สัปดาห์ และวัคซีนโดสสุดท้ายควรได้รับก่อนอายุ 8 เดือน
ขนาดและวิธีใช้
- Rotarix ให้ 2 ครั้ง แนะนำตอนอายุ 2, 4 เดือน, Rotateq ให้ 3 ครั้ง แนะนำให้ตอนอายุ 2, 4, 6 เดือน (วัคซีนทั้ง 2 ชนิดสามารถเริ่มให้ครั้งแรกได้เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์)
- ควรให้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง หรือไม่ทราบชนิดของวัคซีนที่ได้รับในครั้งก่อน ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
- สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
- ห้ามใช้วัคซีนนี้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง Severv combined immune deficiency (SCID) และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน
วันนี้ -31 ธันวาคม 2567
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์